วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

EP11: คนอบอุ่น?


EP11: คนอบอุ่น?




         คนอบอุ่นในสายตาเพื่อนๆคือคนแบบไหนเหรอคะ?
         ใจดี ยิ้มสวย เข้าอกเข้าใจ หรือแค่เป็นคนตัวอุ่นธรรมดาๆ
         หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่า แหนะ...เกริ่นแบบนี้ ต้องการจะพูดถึงอะไรกันแน่ นี่จะอัพบล็อกเรื่องภาษาญี่ปุ่นหรือสเป็คคนในฝันกันแน่เนี่ย...ชะอุ่ยยย
         เอาล่ะ อย่าได้สงสัยไปเลยนะคะ  ยังไงก็ต้องพูดเรื่องภาษาญี่ปุ่นสิจ๊ะภาษาญี่ปุ่น แฮะๆ

         วันนี้ มนุษย์ต่างดาวมีคำศัพท์จากดาวภาษาญี่ปุ่นที่น่าสนใจมานำเสนอกัน นั่นก็คือคำว่า

          "คนอบอุ่น"

          เรื่องมันมีอยู่ว่า ระหว่างทำการบ้าน เกิดมีความจำเป็นต้องเขียนคำว่า 'คนอบอุ่น' ลงไปเป็นภาษาญี่ปุ่น เอาล่ะ...อบอุ่นมันก็คือ あたたかい ไง ดังนั้นคำว่า คนอบอุ่นมันก็ต้องเป็น あたたかい人 แน่นอนอยู่แล้น เรื่องแบบนี้ง่ายยิ่งกว่าแช่แป้ง

          พอลองเสิร์ชคำว่า あたたかい人 ลงในกูเกิ้ลเพื่อเช็คดู ก็พบว่าใช้แบบนั้นจริงๆ แต่ปัญหาจะไม่บังเกิดให้มาเขียนบล็อกเลยถ้าคนญี่ปุ่นไม่ใช้ทั้งคำว่า 温かい人 และ 暖かい人 ปนกัน...!

          ชะอ้าว...เอเลี่ยนงงแล้ว ตกลงใช้คันจิตัวไหนกันแน่ล่ะทีนี้??

          อย่างที่เราเคยเรียนกันมาว่า ความแตกต่างของคันจิ 温かい กับ 暖かい คือ ตัวแรกจะใช้กับสิ่งของที่มีอุณหภูมิอุ่น เช่น 温かいスープ ในขณะที่ตัวหลังใช้กับสภาพอากาศ เช่น 今日は暖かい เอ...ทีนี้พอมาเป็นคน ที่ไม่ถือว่าเป็นทั้งสิ่งของและสภาพอากาศล่ะ จะใช้คันจิตัวไหนกัน?

          จากที่สังเกตการใช้ของคนญี่ปุ่น พบว่ามีการใช้ทั้ง 手の暖かい人、彼は心の温かい人 บางกรณีหนักเข้าไปใหญ่ เพราะมีการอธิบายว่า 温かい人 หมายถึง คนที่สามารถเยียวยาจิตใจผู้อื่น ในขณะที่ 暖かい人 จะหมายถึง คนที่สามารถเพิ่มดีกรีความร้อนแรงให้กับสถานการณ์หนึ่งๆ(?) 

          ...อืมม = =;  งงหนักยิ่งกว่าเดิมซะอีก เปิดดิคเลยดีกว่า...
          
          พอเปิดแล้วกวาดตามองความหมายอันมากมายของคันจิทั้งสองตัวนี้ สายตาก็ป้าบเข้าให้ที่ความหมายอย่างหนึ่งเลย ...ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวจริงๆ แหม รู้งี้เปิดดิคซะตั้งแต่แรกก็ดี 555
        
        温かい -> 思いやりがある。いたわり(sympathy)の心がある  (มาจาก dictionary.goo.ne.jp ค่ะ)

         สรุปว่า คำว่าคนอบอุ่น คือ 温かい人 นั่นเองค่ะ...เห็นง่ายๆ เป็นคำเบสิคๆแบบนี้ ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะซับซ้อน แถมคนญี่ปุ่นก็ใช้ผิดกันเยอะขนาดนี้ นี่แหละน้าความงงของภาษาญี่ปุ่น =_=;;  แต่งงไว้ก็ไม่เสียหลายนะคะ เพราะความไม่รู้นี่แหละที่จะนำมนุษย์ไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบ (พูดซะปรัชญาเชียว)  วันนี้ก็ต้องขอลาไปเพียงเท่านี้ ตอนหน้าพบกันใหม่ แล้วอย่าลืม เป็น 温かい人 ของคนรอบตัวนะคะ :D 



ⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷ






日本語の宇宙人 (ต่างด้าวบนดาวภาษาญี่ปุ่น)
เป็นบล็อกที่มีไว้เพื่อบันทึกประสบการณ์การใช้ภาษาญี่ปุ่น
โดยจะเน้นในเรื่องของการพูดและคำศัพท์
ถือเป็นงานส่วนหนึ่งในวิชา Applied Japanese Linguistic
ของนิสิตเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

EP10: ท่านอาจารย์...ช่วยรับข้าเป็นศิษย์ล่วย! (ภาคต่อ)


EP10: ท่านอาจารย์...ช่วยรับข้าเป็นศิษย์ล่วย! (ภาคต่อ)


          ห่างหายจากการอัพบล็อกไปเกินครึ่งเดือน OTZ เพราะถึงจะหยุดนาน มีเวลาให้อัพเยอะ แต่ก็ไปเที่ยวเพลินเลย ขอยอมรับผิดมา ณ ที่นี้จริงๆ ต่อจากนี้จะพยายามอัพให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สัญญากับตัวเองเลย

          เอาล่ะ ตอนนี้เป็นตอนต่อจากตอนที่แล้ว เรื่องเขียนจดหมายขอฝากตัวเป็นศิษย์ มาดูกันว่าหลังจากที่แก้งานส่งไปให้อาจารย์ช่วยตรวจทานดูแล้ว ผลที่ได้จะเป็นยังไงกันบ้าง...

และนี่คืองานที่แก้ไป...

山内修二先生、

初めまして、ピッスィニーと申します。

先生のホームページに書いてあり、先生の個人レッスンについてお尋ねしたいと思います。
フラメンコ舞台の伴奏家のお亡くなりになった祖父のおかげで、私はフラメンコギターのレッスンを受け始めました。今まで5年ほどレッスンを受けてきました。将来、私は祖父のように偉いフラメンコ舞台の伴奏家になりたい夢を持っているので、ぜひ祖父が深い尊敬の念を抱いていた山内先生の弟子になりたいと思います。
お手数ですが、レッスンを受けさせていただけるかどうかお知らせていただけませんでしょうか。レッスンの日時・場所・月謝のような他の必要な情報も教えていただければ、本当にありがたいと思います。

お返事はお急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。

ピッスィニー・ピェングーリアム

ก่อนอื่นขออธิบายเวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่นี่ก่อน จะเห็นว่าเวอร์ชั่นแรก เราเล่าความเป็นมาของตัวเองเกี่ยวกับกีตาร์ฟลามิงโกเยอะมาก = =; ในเวอร์ชั่นใหม่นี้เลยตัดออกไปซะ แต่ก็ยังให้มีแทรกอยู่บ้างประปรายเพราะอยากให้ 山内修二先生 เห็นความตั้งใจจริงในการเรียนกีตาร์ของเรา

เรื่องการขึ้นต้นจดหมาย ฉบับก่อนเราขึ้นต้นว่า こんにちは。ピッスィニーです。ซึ่งได้มารู้เอาภายหลังในห้องเรียนว่า การขึ้นต้นด้วย こんにちは จะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สนิทสนมกับผู้รับจดหมาย ในที่นี้จึงไม่ควรใช้กับ 山内修二先生 ซึ่งเป็นอาจารย์และเป็นนักกีตาร์มีชื่อเสียงซึ่งไม่ได้รู้จักหรือสนิทกับเราเป็นการส่วนตัวมาก่อน  ส่วนการใช้ ピッスィニーです ถึงจะดูธรรมดาๆ ไม่น่าจะมีที่ผิดอะไร แต่ความจริงแล้ว การแนะนำตัวให้คนที่ไม่รู้จักฟังเป็นครั้งแรก ต้องใช้ と申します เพราะอีกฝ่ายไม่ได้รู้จักชื่อเรามาก่อน
แค่ขึ้นต้นก็ซับซ้อนแล้วเนอะ 55
ในส่วนของเนื้อความในจดหมายใหม่ เราพยายามถามเจาะรายละเอียด เช่น วันเวลา สถานที่ ค่าเรียน ฯลฯ เพราะอาจารย์ได้พูดถึงในห้องว่า การถามอีกฝ่ายว่า ช่วยกรุณาบอกรายละเอียดให้ที จะทำให้อีกฝ่ายงงได้ว่าต้องการมาก น้อย แค่ไหน ทางที่ดีควรเจาะจงถามเขาเป็นข้อๆเลย แล้วค่อยหยอดตบท้ายเอาทีหลังก็ได้ว่า มีเรื่องอะไรที่เราควรจะรู้อีกมั้ย? การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้เราได้รู้คำตอบของคำถามทุกข้อที่เราสงสัยแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอีกฝ่ายด้วย
เอาล่ะ ทีนี้มาดูตามแถบสีที่อาจารย์ขีดให้ดีกว่า ว่าต้องปรับปรุงอะไร ยังไงบ้าง
1. 書いてあり、先生の個人レッスン  แก้เป็น 書いてある個人レッスン เพราะใช้ 書いてある ขยายคำนาม คือ 個人レッスン 2.フラメンコ舞台の伴奏家のお亡くなりになった祖父のおかげで     อาจารย์แนะนำว่า การพูดแบบนี้มันเป็นเรื่องส่วนตัวเกินไป ควรใช้ 私の祖父はフラメンコギターの伴奏家で、そのおかげで จะเหมาะสมกว่า 3. 5年ほど     บอกว่า 年ほど前から เพื่อเจาะจงว่าเป็นเวลาห้าปีก่อนหน้านั้น 4. 偉い    แก้เป็น すばらしい...เอ๊ะ อันนี้งงจริงอะไรจริงว่าทำไมต้องแก้ 偉い ก็ถือเป็นคำชมที่ดีเหมือนกันไม่ใช่เหรอ...เอาล่ะสิเอเลี่ยนบังเกิดความสงสัย ไปค้นดูดีกว่า ค้นไปค้นมาโป๊ะเชะ เจอเว็บที่เอาทั้งสองคำนี้มาเทียบกันพอดี เว็บนี้เลย http://homepage3.nifty.com/recipe_okiba/nifongo/012.htm

えらい มีความหมาย 3 อย่าง ได้แก่
1.     人物の地位や評価が高い เช่น「えらい先生だ。」 2.     程度が大きい เช่น「えらい大きな声が聞こえる。」 3.     重大だ  เช่น「約束を忘れてえらいことになった。」
จะเห็นได้ว่า 偉い ใช้กับความหมายแบบกลางๆ คือบอกระดับ เช่นในข้อ 2 แถมยังใช้ในความหมายลบ อย่างในข้อ 3 ได้ด้วย ต่างจาก 偉い ที่เจอตามปรกติในห้องเรียนเลย

ส่วน すばらしい มีความหมาย 2 อย่าง คือ 1.     客観的に見て優れている เช่น「すばらしい論文だ。」 2.     主観的に見て好ましい เช่น「すばらしい景色だ。」

สรุปว่า すばらしい ใช้กับอะไรที่ยอดเยี่ยม น่าชื่นชมและนิยมชมชอบ จะเห็นได้ว่ามีแต่ความหมายในแง่บวกทั้งนั้น เพราะเหตุนี้ล่ะมั้ง การใช้ すばらしい ในบริบทเพื่อกล่าวชื่นชมคุณปู่และอยากเป็นให้ได้อย่างท่านบ้าง จึงมีความเหมาะสมกว่า หลายคนอาจรู้สึกว่า อ้าว แต่ความหมายอย่างแรกของ 偉い ก็น่าจะทำให้สามารถใช้ 偉いในกรณีนี้ได้ด้วยไม่ใช่เหรอ? ...อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเรานะ ว่า 偉い ในความหมายแรก มีคำว่า評価 อยู่ด้วย ก็เลยน่าจะเป็นความหมายของความยอดเยี่ยมในแง่ที่ว่า คนอื่นประเมินออกมาแล้วเห็นว่ายอดเยี่ยม ในขณะที่ すばらしい ไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นความยอดเยี่ยมในตัวของมันเองโดยไม่มีใครมาประเมินค่า การที่เราบอกว่าอยากเป็นนักกีตาร์ที่ยอดเยี่ยม จึงเหมาะกับ すばらしい มากกว่าเพราะเรายังไม่ได้เป็นจริง ยังไม่ได้รับการประเมินค่าจากใคร



ก็ยังไม่รู้หรอกนะว่าจดหมายแก้ใหม่ฉบับนี้จะทำให้ 山内修二先生 ยอมรับเราเป็นศิษย์รึเปล่า แต่ตอนนี้...แค่สำนักวิชาทั้งหลายแหล่ที่ฝากตัวเป็นศิษย์อยู่ก็ทำให้ลมปราณแทบหมดแล้ว 555 เอาล่ะ บ่นไปก็เสียเวลา เอาเวลาไปฝึกวิชาลมปราณให้เก่งน่าจะมีประโยชน์กว่า สหายในยุทธภพเดียวกันทั้งหลาย มาสู้ไปด้วยกันนะ ไฮ่ย่าาา!!





ⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷ






日本語の宇宙人 (ต่างด้าวบนดาวภาษาญี่ปุ่น)
เป็นบล็อกที่มีไว้เพื่อบันทึกประสบการณ์การใช้ภาษาญี่ปุ่น
โดยจะเน้นในเรื่องของการพูดและคำศัพท์
ถือเป็นงานส่วนหนึ่งในวิชา Applied Japanese Linguistic
ของนิสิตเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

EP09: ท่านอาจารย์...ช่วยรับข้าเป็นศิษย์ล่วย!


EP09: ท่านอาจารย์...ช่วยรับข้าเป็นศิษย์ล่วย!




คำถาม: เมื่อเสี่ยวลื่อยี้ต้องการฝึกวิชากำลังภายในจากสำนักหุงต้ม...เขาควรทำเยี่ยงไร?
คำตอบ: ส่งนกพิราบขาวไปหาท่านอาจารย์ประจำสำนัก...โดยผูกสาสน์ไว้ที่ขานกด้วย


คำถาม: แล้วเสี่ยวลื่อยี้ควรจะเขียนสาสน์นั้นเยี่ยงไร?
คำตอบ: ไว้มาดูกันจ้ะ


          5555 ไร้สาระมานาน ขอเข้าเรื่องสักทีนะขอรับ วันนี้มาธีมจีนกำลังภายใน...ซึ่งแทบจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ タスク ที่จะพูดถึงในวันนี้เลย...ก็แค่มีศิษย์อยากฝากตัวกับอาจารย์เหมือนกันก็เท่านั้น เลยเอามาใส่ไว้เฉยๆ เป็นสีสัน55

          เอาล่ะ  タスク อันเป็นเรื่องของการฝากตัวเป็นศิษย์ครั้งนี้ แม้ไม่ได้มีเนื้อหาแบบเช็คเทียนหรือบู๊ลิ้ม แต่ก็เก๋กู๊ดไม่แพ้กัน เพราะเป็นเรื่องของคนๆหนึ่งที่มีงานอดิเรกเป็นการเล่นกีต้าร์ฟลามิงโก ประกอบการเต้นฟลามิงโก และต้องการจะสมัครเรียนกับนักกีตาร์ฟลามิงโกระดับเทพ ในสวนสัตว์ที่มีแต่ฟลามิงโก...ไม่ใช่ละอันนี้...เอาเป็นว่า นักกีตาร์ท่านนั้นได้ประกาศไว้ในเว็บเพจว่ากำลังเปิดคอร์สติว เราต้องการทราบรายละเอียดเลยเขียนเมล์ส่งไป ประมาณนั้น  

          อาจารย์ให้ลองเขียนงานนี้ในห้องเลย และเราชาวมนุษย์ต่างดาวก็เขียนออกมาด้วยความเมามัน(เพราะการเขียนเป็นของชอบ)ดังนี้

山内修二様、

こんにちは。ピッスィニーです。

 15歳のクリスマスに、私は初めてフラメンコギターを存じました。それは、祖父が引いてくれたメロディーで、今まで祖父のやさしい指の動きもすばらしいギターのこともはっきり覚えております。一生の忘れられないことだと言っても過言ではありません。その時の感動をきっかけに、私はフラメンコギターのレッスンを受け始めました。今、5年間勉強しており、やっぱり苦労の時もありましたが、あの15歳のクリスマスの祖父の姿を思い出したら、もうー度立ち上がれました。

 将来、祖父のようにフラメンコ舞台の伴奏家として仕事をしたいと思っています。そのため、今一生懸命頑張っております。山内様は私の祖父のように、私にとって力になれてくださって、尊敬しているギタリストなので、山内様のホームページに「個人レッスンを引き受ける」と書いてあるのを拝見すれば、とても嬉しかったです。このような奇跡がもう二度と起こらないだろうと思いながら、このメールを書いております。レッスンについて詳しい情報を教えてくだされば、本当にありがたいと思います。

เราเข้าใจว่า อีเมล์ฉบับนี้ต้องการเน้นความรักและความประทับใจที่ตัวเรามีต่อกีตาร์ฟลามิงโก้ เพื่อที่จะทำให้ อ. เห็นความตั้งใจในตัวเราและรับเราเข้าเป็นศิษย์ เลยตัดสินใจร่ายยาวประวัติระหว่างเรากับกีตาร์ออกมาเป็นอย่างที่เห็นนี้

จุดอื่นที่ชอบ คือการใช้ภาษาสุภาพ ถ่อมตน เช่น 存じました、頑張っております、拝見すれば เป็นต้น นอกจากนี้ เราคิดว่าการใช้ประโยค 「レッスンについて詳しい情報を教えてくだされば、本当にありがたいと思います。」แสดงความอ่อนน้อมต่ออาจารย์ได้ดีมาก ถ้าเราเป็น 山内修二様 เราคงจะประทับใจในความรักและแรงบันดาลใจที่เด็กคนนี้มีต่อกีตาร์ฟลามิงโก รวมถึงความสุภาพอ่อนน้อมของเขา และตั้งใจว่าจะรับเขาเข้าเรียนแน่ๆ

ที่ว่ามาคือความรู้สึกส่วนตัวที่เรามีต่องานของตัวเองชิ้นนี้ พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เราชอบและภูมิใจในงานชิ้นนี้ของตัวเองมาก แต่ ถ้าลองมองในสายตาของบุคคลที่สามดูล่ะ...

พอลองมองจากสายตาของบุคคลที่สาม เราคิดว่างานชิ้นนี้ ยาว และ เยอะ มาก มีแต่ความเวิ่นเว้อ ถ้าเราเป็น 山内修二様 เราคงแอบตกใจที่จู่ๆก็มีคนเขียนเมล์มาเล่าเรื่องปู่ดีดกีตาร์ฟลามิงโกให้ฟังในงานคริสต์มาส =_=; และคงจะแอบหวาดกลัวคนๆนั้นลึกๆ  นอกจากจะเล่าเรื่องปู่ซะย้าวยาว จู่ๆก็ตัดมาหา 山内修二様 แบบไม่มีปี่มีขลุ่ยซะเฉยๆ แถมยังเอา 山内修二様 ไปเทียบว่ายิ่งใหญ่ เป็นพลังให้ผมได้เหมือนกับปู่อีก 山内修二様 เป็นนักกีตาร์ชื่อดัง ไม่ควรจะเอาไปเทียบแบบนั้น อีกอย่าง เขายังไม่ได้ตกลงเลยว่าจะ 力になる ให้เรามั้ย การพูดเหมาแบบนี้เลยคิดว่าอาจจะค่อนข้าง 失礼 ต่อ 山内修二様

และนี่คือ 感想 และ 内省 ที่มีต่องานชิ้นนี้ โดยส่วนมากจะเน้นไปที่เนื้อหา ยังไม่เจาะแกรมม่าซักเท่าไหร่ ไว้ตอนหน้าเราจะมาพูดถึงคอมเม้นต์จากสายตาบุคคลที่ 3 จริงๆ ซึ่งก็คือเพื่อนที่ได้อ่านงานชิ้นนี้ แล้วก็จะลองเจาะเรื่องแกรมม่าดู รวมถึงพูดเรื่องโครงสร้างที่ควรจะเป็นของจดหมายฝากตัวเป็นศิษย์ฉบับนี้ด้วย


วังนี้ก็ต้องขอจบลงเพียงเท่านี้นะขอรับท่างอาจารย์



ⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷⱷ








日本語の宇宙人 (ต่างด้าวบนดาวภาษาญี่ปุ่น)
เป็นบล็อกที่มีไว้เพื่อบันทึกประสบการณ์การใช้ภาษาญี่ปุ่น
โดยจะเน้นในเรื่องของการพูดและคำศัพท์
ถือเป็นงานส่วนหนึ่งในวิชา Applied Japanese Linguistic
ของนิสิตเอกวิชาภาษาญี่ปุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย